เหตุการณ์ 6 ตุลา ปี พ.ศ. 2519 ในขณะนั้นมีนักศึกษาได้ร่วมเดินประท้วงการเดินทางกลับประเทศของ จอมพล ถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี การเดินประท้วงในขณะนั้นได้มีอยู่ที่บริเวณสนามหลวงและบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์ และได้เกิดเหตุการณ์ปราบปรามนักศึกษาและผู้ประท้วงขึ้น ซึ่งมีทั้งถูกยิง ถูกทุบตี หรือถูกทำให้พิกามีสถิติที่เป็นทางการระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 46 คนในเหตุการณ์ครั้งนั้น
และหลังจากที่นายสัญญา ธรรมศักดิ์ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนจอมพลถนอมในเดือนตุลาคม ปีพ.ศ. 2516 พลตรีประมาณ อดิเรกสารได้นำกลุ่มทหาร ก็ได้เริ่มต้นการวางแผนให้ทหารกลับมาปกครองประเทศอีกครั้ง กลุ่มกึ่งทหารฝ่ายขวามีการติดอาวุธและฝึกหัด ตลอดจนมีการเตรียมการปราบปรามนักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้าย การยึดอินโดจีนของคอมมิวนิสก์เมื่อปลายสงครามเวียดนามใน
พ.ศ. 2518 ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่า
ประเทศไทยจะเป็นเป้าหมายต่อไปของคอมมิวนิสต์และนักศึกษาฝ่ายซ้ายที่คุมไม่
อยู่นี้กำลังช่วยเหลือข้าศึก
หนึ่งวันก่อนเกิดเหตุการณ์
มีการตีพิมพ์ภาพถ่ายการแขวนคอจำลองโดยผู้ประท้วงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใน
สื่อ สำหรับหลายฝ่าย นักศึกษาในภาพถ่ายนั้นเหมือนกับกำลังแขวนคอหุ่นจำลองสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ผลทำให้กำลังกึ่งทหารที่โกรธแค้นมาชุมนุมกันนอกมหาวิทยาลัยในเย็นนั้น
พลตรีชุมพล โลหะชาละ รองอธิบดีกรมตำรวจ สั่งการโจมตีในรุ่งเช้าและอนุญาตให้ยิงเสรีในวิทยาเขตคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง นำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ยึดอำนาจทันทีหลังสิ้นสุดเหตุการณ์
สมาชิกของคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองนั้นมีความคิดสายกลางกว่ากลุ่มของพลตรี
ประมาณ และความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองกลุ่มยังเป็นที่เข้าใจไม่มากนัก คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองแต่งตั้งธานินทร์ กรัยวิเชียร ผู้ต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่ยึดมั่นในหลักการ และผู้ที่พระมหากษัตริย์โปรด เป็นนายกรัฐมนตรี
credit ; http://th.wikipedia.org
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น