ภาพเหมือนของโคลัมบัส วาดหลังจากเขาเสียชีวิตไปแล้ว โดยเซบัสเตียโน เดล ปีออมโบ |
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นั้นเป็นนักทำแผนที่ นักสำรวจ นักเดินเรือ และพ่อค้าชาวอิตาเลียน เชื่อกันว่าโคลัมบัสเกิดที่สาธารณรัฐเจนัวเจนัว (ในปัจจุบันคือประเทศอิตาลี) เมื่อปี 1994จากการสนับสนุนขอราชสำนักเสปนคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ได้เดินเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกจึงได้ทำให้ชาวยุโรปได้รู้จกกับทวีปอเมริกาแต่ถึงแม้ว่าโคลัมบัสนั้นจะไม่ใช่เป็นคนแรกที่มาถึงทวีปอเมริกาแต่การค้นพบครั้งนี้ของโคลัมบัสนั้นก็ทำให้เกิดการติดต่ออย่างถาวรและต่อเนื่องระหว่าง โลกใหม่ (ฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก) กับโลกเก่า (ฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแอตแลนติก) นำไปสู่ช่วงเวลาของการสำรวจและการล่าอาณานิคมในดินแดนภายนอกทวีปยุโรปที่ ดำเนินผ่านเวลาหลายศตวรรษและส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ของโลกตะวันตกสมัยใหม่
ในช่วงที่ลัทธิจักรวรรดินิยมและการแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างอาณาจักรต่าง ๆ ในยุโรป กำลังเริ่มขึ้นนั้น โคลัมบัสได้วางแผนการเดินทางไปยังอินเดียตะวันออกโดย เดินเรือมุ่งไปทางตะวันตก ในสมัยนั้นผู้คนยังเชื่อว่าโลกแบนแต่โคลัมบัสเขาเองนั้นมีความเชื่อว่าโลกมีรูปร่างเป็นทรงกลม ความเชื่อนี้จึงขัดแย้งกับแนวความเชื่อในยุคสมัยนั้น แต่ปัญหาสำคัญที่มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง คือ ความเป็นไปได้ของการเดินทางรอบโลก เนื่องมาจากอุปสรรคเรื่องของอาหารและข้อจำกัดทางเทคโนโลยีการเดินเรือในสมัย นั้น เช่น การเดินเรือไปติดในบริเวณที่ไม่มีลมพัด เป็นต้น
โคลัมบัสเขาจึงเสนอเป็นผู้สำรวจดินแดนให้กษัริย์โปรตุเกสเพื่อขอทุนทรัพย์เพื่อการเดินทางสำรวจแต่ไม่สำเร็จ จึงเดินทางไปประเทศสเปนและเสนอตัวต่อ พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ ที่ 2 (Ferdinand II of Aragon) และ พระนางอิสซาเบลลา ที่ 1 (Isabella of Castile) เพื่อออกสำรวจอินเดียและจีน เพื่อทำการค้าเครื่องเทศและผ้าไหมและได้รับการอนุมัติให้ออกเดินทางเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2035 โคลัมบัสนำเรือ 3 ลำโดยเรือนินา (Nina) พินตา (Pinta)และซานตา มาเรีย (Santa Maria) พร้อมกับลูกเรืออีก 90 คนออกเดินทางโดยแล่นเรือไปทางทิศตะวันตกข้ามมหาสมุทรแอตแลนติค จากที่โคลัมบัสตั้งใจจะไปถึงเกาะญี่ปุ่นซึ่งเขาคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชีย เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2035 เขากลับไปถึงเกาะแห่งหนึ่งและตั้งชื่อว่า "ซาน ซัลวาดอร์" (San Salvador) ปัจจุบันคือ เกาะบาฮามาส์ (Bahamas) ทางตะวันออกของฟลอริดา ประเทศสหรัฐ หลังจากนั้นเขาเดินเรือต่อไปจนถึงคิวบา ฮิสปานิโอลา เปอร์โตริโก จาเมกา ตรินิแดด เวเนาซุเอลา และคอคอดปานามา
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เสียชีวิตในปี 1506 โดยที่โคลัมบัสยัังเชื่อมาตลอดจนเสียชีวิตว่าดินแดนที่เขาค้นพบนั้นคือทวีปเอเชีย ภายหลังได้มีการกำหนดให้วันที่ 12 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่โคลัมบัสมาถึงอเมริกาเป็น "วันโคลัมบัส" มีการเฉลิมฉลองกันในสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้
เส้นทางเดินเรือของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส |
่รจนบ
ตอบลบ